แสงส่องใจ



จิตตานุภาพ คืออานุภาพของจิต แบ่งเป็น ๓ ประเภท คือ

• จิตตานุภาพบังคับตนเอง
...• จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น
• จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม

จิตตานุภาพบังคับตนเอง

“ ตนของตนย่อมเป็นที่พึ่งแก่ตนเอง ” เหตุนี้จึงต้องหัดบังคับตนเอง ผู้อื่นถึงจะเป็นศัตรูก็ไม่เท่าตนเป็นศัตรูต่อตนของตนเอง ถ้ายังไม่สามารถบังคับตนของตนเองให้ดีได้แล้ว ก็อย่าหวังเลยว่าจะบังคับผู้อื่นให้ดีได้ จิตตานุภาพบังคับตนเองมี ๗ ประการ

• บังคับความหลับและความตื่น
การหัดนอนให้หลับสนิทเป็นกำลังสำคัญยิ่งนัก เหตุที่ทำให้นอนไม่หลับมี ๒ ประการ คือ
๑.๑ ร่างกายไม่สบายพอ อาหารที่ย่อยยากก็เป็นเหตุให้ร่างกายไม่สบายพอ ควรนอนตะแคงข้างขวา ถ้านอนหงายก็ควรให้เอียงขวานิดหน่อย ถ้าต้องการพลิกก็ควรพลิกจากขวานิดหน่อยแล้วกลับตะแคงขวาตามเดิม นอนย่อมให้อวัยวะทุกส่วนพักผ่อน อย่าให้เกร็งตึงและไม่ควรตะแคงซ้าย
๑.๒ ความคิดฟุ้งซ่าน เวลานอนถ้าจิตฟุ้งซ่าน ควรคิดถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง แต่อย่างเดียว ครั้นแล้วก็เลิกละไม่คิดสิ่งนั้น และไม่คิดอะไรอื่นต่อไปอีก กระทำใจให้หมดจดเหมือนน้ำที่ใสสะอาด ควรบังคับตัวให้ตื่นตรงตามเวลาที่ต้องการ ก่อนนอนต้องคิดให้แน่แน่ว สั่งตนเองให้ตื่นเวลาเท่านั้น เมื่อถึงเวลาก็จะตื่นได้เองตามความประสงค์

• ทำความคิดให้ปลอดโปร่ง ว่องไว ในเวลาตื่นขึ้น อย่าให้เซื่องซึม “ ต้องเอาความคิดในเวลาตื่นเช้า ไปประสานติดต่อกับความคิดที่เราทิ้งไว้เมื่อวันวานก่อนที่จะนอนหลับ ” ก่อนนอนควรจดบันทึกกิจการที่เราจะต้องทำในวันรุ่งขึ้นนั้นไว้ในกระดาษแผ่นหนึ่งเสมอ พอตื่นขึ้นมาก็หยิบดูเพื่อปลุกความคิดให้ตื่น

• เปลี่ยนความคิดได้ตามต้องการคือเมื่อต้องการคิดอย่างใดก็ให้คิดได้อย่างนั้น ทิ้งความคิดอื่น ๆ หมด และเมื่อไม่ต้องการคิดอีกต่อไป จะคิดเรื่องอื่นก็ให้เปลี่ยนได้ทันที และทิ้งเรื่องเก่าโดยไม่เอาเข้ามาพัวพัน คือทำใจให้เป็นสมาธิอยู่ที่กิจเฉพาะหน้า การเปลี่ยนความคิดเป็นเหตุให้ห้องสมองมีเวลาพักชั่วคราว ทำให้สมองมีกำลังแข็งแรงขึ้น

• สงบใจได้แม้เมื่อตกอยู่ในอันตราย หรือประสบทุกข์ อย่าให้เสียใจหมดสติสะดุ้ง ดิ้นรนจนสิ้นปัญญาแก้ไข เกิดความท้อถอยไม่ทำอะไรต่อไป ความสงบไม่ตื่นเต้นเป็นเหตุให้เกิดปัญญาประกอบกิจให้สำเร็จได้สมหวัง เราจะแก้ไขเหตุร้ายที่เกิดขึ้นแก่เราได้นั้นก็มีทางจะทำอยู่ ๒ ขั้น

๔.๑ ต้องสงบใจมิให้ตื่นเต้น
๔.๒ ต้องมีความมานะพยายาม

วิธีสงบใจที่ดีที่สุด หายใจยาวและลึก

• เปลี่ยนนิสัยความเคยชินของตัวจากร้ายเข้ามาหาดี การขืนใจตัวเองชั่วขณะหนึ่งอาจเป็นผลดีแก่ตัวเองตลอดชีวิต แต่การทำตามใจตัวขณะเดียวก็อาจเป็นผลถึงการทำลายชีวิตของเราได้เหมือนกัน

• ตรวจตราตัวของตัวเป็นครั้งคราวโดยสม่ำเสมอให้ทราบว่ากำลังใจมั่นคงขึ้นหรือไม่ ฝ่ายกุศลเจริญขึ้นหรือไม่ ฝ่ายอกุศลลดน้อยเบาบางหมดสิ้นไปหรือไม่ ใจยังสะดุ้งดิ้นรนหวั่นไหวอยู่หรือไม่

• ป้องกันรักษาตัวด้วยจิตตานุภาพ การสะดุ้งตกใจหรือเสียใจ ความกลัว เป็นเหตุให้เกิดโรคและโรคกำเริบ และเป็นเหตุให้คนดี ๆ ตายได้ คนไข้ถ้าใจดีหายเร็ว ความไม่กลัวตายรอดอันตรายได้มากกว่ากลัวตาย ความพยายามและอดทนเป็นเหตุให้สำเร็จสมประสงค์

จิตตานุภาพบังคับผู้อื่น

จิตตานุภาพอย่างอ่อน สามารถใช้สายตา น้ำเสียงและด้วยกระแสจิตประกอบคำพูด ซึ่งจะเป็นเครื่องจูงใจคนให้เชื่อฟัง ลักษณะไม่หวาดหวั่นครั่นคร้ามต่อใคร ๆ

นั้นไม่ใช่ชีวิตหัวดื้อบึกบึนซึ่งไม่นับว่าเป็นจิตตานุภาพ ต้องเป็นคนสุภาพสงบเสงี่ยม เคารพนบนอบต่อบุคคลที่ควรเคารพ แต่ทว่าหัวใจของคนชนิดนั้นไม่หวาดหวั่นเกรงกลัวใคร และสามารถแสดงให้เห็นว่าตัวเป็นมนุษย์ คนหนึ่งอยู่ในโลก และเป็นมนุษย์ที่รู้จักคิด รู้จักพูด รู้จักทำ คนที่สามารถเป็นนายตนเอง ไม่ตกเป็นทาสของหัวใจคนอื่น และสามารถดึงดูดหัวใจคนเข้ามาเชื่อฟังเกรงกลัวนั้น ถ้าสังเกตให้ดีแล้วจะเห็นได้ว่ามีลักษณะ ๔ ประการ

• สายตาแข็ง มีอำนาจในตัว
• เสียงชัดแจ่มใส
• ท่าทางสงบเสงี่ยมและเป็นสง่า
• รู้จักวิธีชักจูงหัวใจคนให้หันมาเข้าในคลองความคิดของตัว

พยายามอ่านหนังสือหน้าหนึ่งโดยไม่กะพริบตาเลยทำให้สายตาแข็งได้ อ่านหนังสืออย่างช้า ๆ ให้ชัดถ้อยคำทุก ๆ ตัวและให้ได้ระยะเสมอกันทำให้เสียงชัดแจ่มใส

เวลาพูด พยายามพูดให้เป็นจังหวะอย่าให้ช้าบ้างเร็วบ้างและให้ชัดถ้อยคำเสมอ ไม่ให้อ้อมแอ้มหรือกลืนคำเสียครึ่งหนึ่ง เป็นการฝึกหัดให้เสียงชัดเจนแจ่มใส

บุคคลที่มีสง่า คือคนที่บังคับร่างกายให้อยู่ในอำนาจหัวใจได้เสมอ มีท่าทางสงบเสงี่ยมเป็นสง่าไม่แสดงอาการโกรธเกลียด กลัว รัก ขมขื่น ตกใจ สะดุ้ง เศร้าโศก ให้ปรากฏ ไม่ทำอิริยาบถเคลื่อนไหวอันใดโดยไม่จำเป็น และโดยบอกความกำกับของใจ มีหน้าตาแจ่มใส อิริยาบถสงบเสงี่ยมเป็นสง่าอยู่ทุกขณะ

การเคลื่อนไหวทุกอย่างทำด้วยความหนักแน่นมั่นคง อย่าให้รวดเร็วจนเป็นการหลุกหลิก หรือผึ่งผายจนเป็นการเย่อหยิ่ง หรืออ่อนเปียกจนเป็นการเกียจคร้าน ในเวลายืนให้น้ำหนักตัวถ่วงอยู่ทั่วตัวเสมอ ไม่ให้ถ่วงแต่ส่วนใดส่วนหนึ่ง

รู้จักใช้วิธีชักจูงหัวใจคนให้หันเข้ามาในคลองความคิดของเรา

• หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดมีสิ่งที่จะชักจูงให้เขาละทิ้งข้อแนะนำของเรา

• จูงใจเขาให้หันเข้ามาในทางที่เราต้องการทุกที วิธีป้องกันตัวไม่ให้จิตตานุภาพของผู้อื่นบังคับเราได้

ให้ทำมโนคติให้เห็นประหนึ่งว่า กระแสดวงจิตของเราแผ่ซ่านป้องกันอยู่รอบตัวเรา จิตตานุภาพของผู้อื่นไม่สามารถจะเข้าถึงตัวเราได้ ให้ทำเวลาเข้านอนครั้งหนึ่ง และขณะที่อยู่ใกล้บุคคลที่เราระแวงว่าเขาจะใช้จิตตานุภาพบังคับเรา

จิตตานุภาพบังคับเคราะห์กรรม

เครื่องมือที่จะชักนำเอาเคราะห์ดีเข้ามา คือ ความพยายามเข้มแข็งไม่ท้อถอยหนักแน่นระมัดระวัง เชื่อแน่ในความพากเพียรบากบั่นของตัว มักจะเป็นคนเคราะห์ดีอยู่เสมอ และมีคุณสมบัติอย่างอื่นอีกคือ ความมุ่งหมายและอย่าให้นึกถึงเคราะห์ร้าย ตั้งความมุ่งหมายถึงผลอันใดในชีวิตไว้เท่านั้น เพื่อให้ก้าวหน้ามุ่งตรงไปจนบรรลุสมประสงค์ ความมุ่งหมายจำต้องให้สูงไว้เสมอ เพื่อจะได้มีความพยายามอย่างสูงด้วย แต่การก้าวไปสู่ที่มุ่งหมายนั้น ต้องก้าวอย่างระมัดระวังไม่ก้าวให้ผิด “ควรมีความปรารถนาให้สูงอยู่เสมอ แต่จะต้องระมัดระวังมิให้เดินพลาด ” การไม่ยอมแพ้เคราะห์ร้าย เป็นเหตุให้เคราะห์ร้ายพ่ายแพ้เองเมื่อประสบเคราะห์

• จะต้องไม่ให้ใจเสีย เชื่อมั่นในความรู้ความสามารถของตัว รวบรวมกำลังให้พรั่งพร้อม

• ตั้งความมุ่งหมายให้ดีและตกลงแน่ว่าจะมุ่งไปทางไหน

• ใช้ความระมัดระวังให้มากขึ้น กุมสติให้มั่น อย่างไรก็ดีจะปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม ทำการต่อสู้ดังกล่าวแล้วนั้นไม่ได้เป็นอันขาด
--------------------------------------
โดยท่านเจ้าคุณนรรัตน์ราชมานิต วัดเทพศิรินทราวาสดูเพิ่มเติม


*************************************************

















จอมทัพธรรมแห่งรัตนโกสินทร์ ต้นแบบพระแท้แห่งพุทธกาล ผู้ถักทอเครือข่ายพระป่าให้ครอบคลุมทั่วหล้า
ผู้เป็นแบบอย่างในการรักษาสิกขาบทชนิดเอาชีวิตเข้าเข้าแลก ผู้อิ่มบารมีธรรมอย่างเอกอุ
ผู้เป็นแสงอาทิตย์ฉายกล้าไปทั่วอาณาเขตพุทธแดนไทย ให้ลูกหลานสืบทอดผ่านกาลสมัยรุ่นแล้วรุ่นเล่า 
" พ่อแม่ครูบาอาจารย์มั่น "

เรียบเรียงจากประวัติที่เรียงร้อยโดย พระอริยคุณคุณาธาร (เส็ง ปุนโส),ฉบับของหลวงปู่มหาบัว ญาณสัมปันโน และจากคอลัมน์ "อริยะโลกที่ ๖" ในเรื่อง "หลวงปู่มั่น เอกอุสงฆ์แห่งแดนอิสาน" ในหน้าพระเครื่อง หนังสือพิมพ์ข่าวสด
 
รวบรวมธรรมคำสอนขององค์หลวงปู่จากหนังสือเล่มต่างๆ เช่น มุตโตทัย พระธรรมเทศนา ขันธะวิมุติ และถามตอบปัญหาธรรมะจากหนังสือประวัติท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตตเถระ โดยหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน หากพบคำสอนขององค์ท่านอีกจะเพิ่มเติมในภายหลัง

รวมเรื่องราวต่างๆ เกร็ดประวัติธรรมะ
ประวัติวัดป่าบ้านหนองผือ
และหนังสือประวัติของท่านต่างๆ
 
รวมภาพถ่ายต่างๆ ขององค์หลวงปู่
เพื่อการอนุรักษ์ภาพเก่าให้อนุชนรุ่นหลัง
ได้เห็นรูปท่านเป็นสังฆานุสสติ

รวบรวมบางส่วนของครูบาอาจารย์
ที่เป็นที่พึ่งที่นับถือของชาวพุทธในยุคปัจจุบัน
ซึ่งท่านทั้งหลายเป็นศิษยานุศิษย์ของ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถร

แนะนำสถานที่ทำบุญฟังธรรม
ข่าวการกุศล งานบุญต่างๆ
ของพระกรรมฐาน Updateเป็นประจำ

ขอเชิญทุกท่านร่วมกัน
เซ็นสมุดเยี่ยมชมแนะนำและติชมเพื่อ
จะได้นำไปปรับปรุง และแก้ไขเวบนี้ต่อไป
รวมเวบไซต์ต่างๆ ที่เกี่ยวกับ
พระธุดงคกรรมฐาน
และเวบไซต์พระพุทธศาสนาอื่นๆ ที่น่าสนใจ


คลิก เพื่อเปลี่ยนเป็นภาษาอังกฤษ
ขอขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาชมเวบไซต์ของพวกเรา
หากท่านต้องการนำธรรมะ รูปภาพเกี่ยวกับชีวประวัติหลวงปู่มั่น
และรูปภาพครูบาจารย์ไปใช้เพื่อเผยแผร่ธรรมะต่อไป
สามารถทำได้โดยมิต้องขออนุญาตผู้ดูแลเว็บไซต์ 




หลวงปู่มั่น ภูริทัตตมหาเถระ

 วัดป่าสุทธาวาส  อ.เมือง จ.สกลนคร


 • • • • • • • • • • • • • •   
ท่าน กำเนิดในสกุลแก่นแก้ว บิดาชื่อคำด้วง มารดาชื่อจันทร์ เพีย (พระยา )  แก่นท้าวเป็นปู่  นับถือพุทธศาสนา
เกิดวันพฤหัสบดีเดือนยี่ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ เดือนมกราคมพ.ศ.๒๔๑๓ ณ บ้านคำบง ตำบลโขงเจียม อำเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี ( ปัจจุบันคือ บ้านคำบง ต.สงยาง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.อุบลราชธานี ) มีพี่น้องร่วมท้องเดียวกัน ๗ คน ท่านเป็นบุตรคนหัวปีท่านเป็นคนร่างเล็ก ผิวขาวแดงแข็งแรงว่องไวสติปัญญาดีมาตั้งแต่กำเนิดฉลาดดี

เมื่อ ท่านอายุได้ ๑๕ ปี ได้ บรรพชา เป็นสามเณรในสำนักวัดบ้านคำบง ใครเป็นบรรพชาจารย์ไม่ปรากฏ ครั้นบวชแล้วได้ศึกษาหาความรู้ทางพระศาสนามีสวดมนต์และสูตรต่างๆ ในสำนักบรรพชาจารย์ จดจำได้รวดเร็ว อาจารย์เมตตาปรานีมาก เพราะ เอาใจใส่ในการเล่าเรียนดี ประพฤติปฏิบัติเรียบร้อย เป็นที่ไว้เนื้อเชื่อใจได้ 

เมื่ออายุท่านได้ ๑๗ ปี บิดาขอร้องให้ลาสิกขาเพื่อช่วยการงานทางบ้านท่านก็ได้ลาสิกขาออกไปช่วยงาน ของบิดามารดาเต็มความสามารถ ท่านเล่าว่าเมื่อลาสิกขาไปแล้วยังคิดที่จะบวชอีกอยู่เสมอไม่ลืมเลย คงเป็นเพราะอุปนิสัยในทางบวชมาแต่ก่อนอย่างหนึ่งอีกอย่าง หนึ่งเพราะติดใจในคำสั่งของยายว่า "เจ้าต้องบวชให้ยาย เพราะยายก็ได้เลี้ยงเจ้ายาก" คำสั่ง ของยายนี้ คอยสะกิดใจอยู่เสมอ ครั้นอายุท่านได้ ๒๒ ปี ท่านเล่าว่ามีความอยากบวชเป็นกำลัง จึงอำลาบิดา มารดาบวชท่านทั้งสองก็อนุญาตตามประสงค์ท่านได้เข้าศึกษาในสำนักพระอาจารย์ เสาร์ ( หลวงปู่เสาร์ ) กันตสีโล วัดเลียบ เมืองอุบล จังหวัดอุบลราชธานี

อุปสมบท เป็น ภิกษุภาวะในพุทธศาสนา ณ วัดศรีทอง(วัดศรีอุบลรัตนาราม)อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี พระอริยกวี (อ่อน) เป็นพระอุปฌายะ พระครูสีทาชยเสโน เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประจักษ์อุบลคุณ ( สุ่ย ) เป็นพระอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๓๖ 
พระอุปัชฌายะขนานนามมคธให้ว่า "ภูริทัตโต"แปลว่า "ผู้ให้ปัญญา ผู้แจกจ่ายความฉลาด" เสร็จอุปสมบทกรรมแล้ว ได้กลับมาศึกษาวิปัสสนาธุระกับพระอาจารย์เสาร์ กันตสีโล ณ วัดเลียบต่อไปเมื่อแรกอุปสมบทท่านพำนักอยู่วัดเลียบโดยได้เรียนกรรมฐานจาก พระอาจารย์เสาร์เมื่องอุบลเป็นปกติและได้ออกไปอาศัยอยู่วัดบูรพาราม เมือง อุบลราชธานีเป็นครั้งคราว
ในระหว่างนั้นได้ศึกษาข้อปฏิบัติเบื้อง ต้น อันเป็นส่วน แห่งพระวินัย คือ อาจาระความประพฤติมารยาท อาจริยวัตร และอุปัชฌายวัตรปฏิบัติได้เรียบร้อยดีจนเป็นที่ไว้วางใจของพระอุปัชฌาจารย์ และได้ศึกษาข้อปฏิบัติอบรมจิตใจคือเดินจงกรมนั่งสมาธิกับการสมาทานธุดงควัตร ต่างๆ
การบำเพ็ญเพียร
ในสมัยต่อไปได้แสวงหาวิเวกบำเพ็ญสมณธรรมในที่ต่างๆ ตามราวป่า ป่าช้า ป่าชัฏที่แจ้ง หุบเขา ซอกเขา ห้วย ธารเขา เงื้อมเขา ท้องถ้ำ เรือนว่างทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงบ้าง ทางฝั่งขวาแม่น้ำโขงบ้าง แล้วลงไปศึกษากับนักปราชญ์ทางกรุงเทพ จำพรรษาอยู่ที่วัดปทุมวนาราม หมั่นไปสดับธรรมเทศนากับเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ ( จันทร์ ) ๓ พรรษา แล้วออกแสวงหาวิเวกในถิ่นภาคกลาง คือถ้ำสาริกา เขาใหญ่ นครนายก ถ้ำไผ่ขวาง เขาพระงามและถ้ำสิงห์โตลพบุรีจนได้รับความรู้แจ่มแจ้งในพระธรรมวินัย สิ้นความสงสัยในสัตถุศาสนา จึงกลับมาภาคอีสานทำการอบรมสั่งสอนสมถวิปัสสนา แก่สหธรรมิกและอุบาสกอุบาสิกาต่อไป มีผู้เลื่อมใสปฏิบัติตามมากขึ้นโดยลำดับ มีศิษยานุศิษย์แพร่หลายกระจายทั่วภาคอีสาน
ในกาลต่อมาได้ลงไปพักจำพรรษาที่วัดปทุม วนาราม กรุงเทพฯ อีก ๑ พรรษาแล้ว ไปเชียงใหม่ กับเจ้าพระคุณอุบาลี ( จันทร์ ) จำพรรษาวัดเจดีย์หลวง ๑ พรรษาแล้วออก ไปพักตามที่วิเวกต่างๆ ในเขตภาคเหนือหลายแห่ง เพื่อสงเคราะห์สาธุชนในที่นั้นๆนานถึง ๑๑ ปี จึงได้กลับมาจังหวัดอุบลราชธานีพักจำพรรษาอยู่ที่วัดโนนนิเวศน์เพื่อ อนุเคราะห์สาธุชนในที่นั้น ๒ พรรษาแล้วมาอยู่ในเขตจังหวัดสกลนครจำพรรษาที่วัดป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมืองสกลนคร ( ปัจจุบันคืออำเภอโคกศรีสุพรรณ ) ๓ พรรษา จำพรรษาที่วัดป่าหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม ๕ พรรษาเพื่อสงเคราะห์สาธุชนในถิ่นนั้น มีผู้สนใจในธรรมปฏิบัติได้ติดตามศึกษา อบรมจิตใจมากมาย ศิษยานุศิษย์ของท่านได้แพร่กระจายไปทั่วทุกภาคของประเทศไทย ยังเกียรติคุณของท่านให้ฟุ้งเฟื่องเลื่องลือไป
ปัจฉิมวัย
ในวัยชรานับแต่ พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นต้นมาท่านหลวงปู่มั่นมาอยู่ที่จังหวัดสกลนคร เปลี่ยนอิริยาบท ไปตามสถานที่วิเวกผาสุขวิหารหลายแห่ง คือ เสนาสนะป่าบ้านนามน ตำบลตองโขบ อำเภอเมือง ( ปัจจุบันเป็นอำเภอโคกศรีสุพรรณ ) บ้าง แถวนั้นบ้าง 
ครั้น พ.ศ. ๒๔๘๗ จึงย้ายไปอยู่เสนาสนะป่าบ้านหนองผือ ตำบลนาใน อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร จนถึงปีสุดท้ายแห่งชีวิต ตลอดเวลา ๘ ปีในวัยชรานี้ท่านได้เอาธุระอบรมสั่งสอนศิษยานุศิษย์ทางสมถวิปัสสนาเป็นอัน มาก ได้มีการเทศนาอบรมจิตใจศิษยานุศิษย์เป็นประจำวันศิษย์ผู้ใกล้ชิด ได้บันทึกธรรมเทศนาของท่านไว้และได้รวบรวมพิมพ์ขึ้นเผยแพร่แล้วให้ชื่อว่า "มุตโตทัย"

มา ถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๒ ซึ่งเป็นปีที่ท่านมีอายุย่างเข้า ๘๐ ปี ท่านเริ่มอาพาธเป็นไข้ ศิษย์ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดก็ได้เอาธุระรักษาพยาบาลไปตามกำลังความสามารถ อาการอาพาธก็สงบไปบ้างเป็นครั้งคราวแต่แล้วก็กำเริบขึ้นอีก เป็นเช่นนี้เรื่อยมาจนจวนออกพรรษาอาพาธก็กำเริบมากขึ้น ข่าวนี้ได้กระจายไปโดยรวดเร็ว พอออกพรรษาศิษยานุศิษย์ผู้อยู่ใกล้ไกลต่างก็ทะยอยกันเข้ามาปรนนิบัติพยาบาล ได้เชิญหมอแผนปัจจุบันมาตรวจ และรักษาแล้วนำมาพักที่เสนาสนะป่าบ้านภู่ อำเภอพรรณานิคมเพื่อสะดวกแก่ผู้รักษา และศิษยานุศิษย์ที่จะมาเยี่ยมพยาบาล อาการอาพาธมีแต่ทรงกับทรุดลงโดยลำดับ

ครั้นเมื่อวันที่ ๑๐ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ ได้นำท่านมาพักที่วัดป่าสุทธาวาส อ.เมือง เมืองสกลนคร โดยพาหนะรถยนต์ของแขวงการทางมาถึงวัดเวลา ๑๒.๐๐น. เศษ ครั้นถึงเวลา !๒.๒๓ น. ของวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ปีเดียวกันท่านก็ได้ถึงมรณภาพด้วยอาการสงบในท่างกลางศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย มีเจ้าพระคุณพระธรรมเจดีย์เป็นต้น สิริชนมายุของท่านอาจารย์ได้ ๗๙ ปี ๙ เดือน ๒๑ วัน รวม ๕๖ พรรษา มาซึ่งท่านหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน  ได้เล่าถึงเหตุการณ์ในเวลานั้น ไว้ใน "ประวัติท่านพระอาจารย์มั่นฯ" ไว้ว่า
" องค์ ท่าน เบื้องต้นนอนสีหไสยาสน์ คือ นอนตะแคงข้างขวา แต่เห็นว่าท่านจะเหนื่อยเลยค่อย ๆ ดึงหมอนที่หนุนอยู่ข้างหลังท่านออกนิดหนึ่งเลยกลายเป็นท่านนอนหงายไป พอท่านรู้สึกก็พยายามขยับตัวกลับคืนท่าเดิม แต่ไม่สามารถทำได้เพราะหมดกำลัง พระอาจารย์ใหญ่ก็ช่วยขยับหมอนที่หนุนหลังท่านเข้าไป แต่ดูอาการท่านรู้สึกเหนื่อยมากเลยต้องหยุดกลัวจะกระเทือนท่านมากไป ดังนั้น การนอนท่านในวาระสุดท้ายจึงเป็นท่าหงายก็ไม่ใช่ ท่าตะแคงข้างขวาก็ไม่เชิง เป็นเพียงท่าเอียง ๆ อยู่เท่านั้น เพราะสุดวิสัยที่จะแก้ไขได้อีก อาการท่านกำลังดำเนินไปอย่างไม่หยุดยั้ง บรรดาศิษย์ซึ่งโดยมากมีแต่พระกับเณรฆราวาสมีน้อยที่นั้งอาลัยอาวรณ์ด้วยความ หมดหวังอยู่ขณะนั้น ประหนึ่งลืมหายใจไปตาม ๆ กัน เพราะจิตพะว้าพะวังอยู่กับอาการท่านซึ่งกำลังแสดงอย่างเต็มที่เพื่อถึงวาระ สุดท้ายของท่านอยู่แล้ว ลมหายใจท่านปรากฏว่าค่อยอ่อนลงทุกทีและละเอียดไปตาม ๆ กัน ผู้นั้งดูลืมกระพริบตาเพราะอาการท่านเต็มไปด้วยความหมดหวังอยู่แล้ว ลมค่อยอ่อนและช้าลงทุกทีจนแทบไม่ปรากฏ วินาทีต่อไปลมก็ค่อย ๆ หายเงียบไปอย่างละเอียดสุขุมจนไม่มีใครสามารถรู้ได้ว่าท่านได้สิ้นไปแล้วแต่ วินาทีใด เพราะอวัยวะทุกส่วนมิได้แสดงอาการผิดปกติเหมือนสามัญชนทั่ว ๆ ไปเคยเป็นกัน ต่างคนต่างสังเกตจ้องมองจนตาไม่กระพริบ สุดท้ายก็ไม่ได้เรื่องพอให้สะดุดใจเลยว่า "ขณะท่านลาขันธ์ลาโลกที่เต็มไปด้วยความกังวลหม่นหมองคือขณะนั้น " ดังนี้
พอเห็นท่าไม่ได้การ ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ พูดเป็นเชิงไม่แน่ใจขึ้นมาว่า "ไม่ใช่ท่านสิ้นไปแล้วหรือ " พร้อมกับยกนาฬิกาขึ้นดูเวลา ขณะนั้นเป็นเวลาตี ๒ นาฬิกา ๒๓ นาที จึงได้ถือเวลามรณภาพของท่าน พอทราบว่าท่านสิ้นไปแล้วเท่านั้นมองดูพระเณรที่นั้งรุมล้อมท่านอยู่เป็น จำนวนมาก เห็นแต่ความโศกเศร้าเหงาหงอยและน้ำตาบนใบหน้าที่ไหลซึมออกมา ทั้งไอทั้งจามทั้งเสียงบ่นพึมพำไม่ได้ถ้อยได้ความใครอยู่ที่ไหนก็ได้ยิน เสียงอุบอิบพึมพำทั่วบริเวณนั้น บรรยากาศเต็มไปด้วยความเงียบเหงาเศร้าใจอย่างบอกไม่ถูก เราก็เหลือทน ท่านผู้อื่นก็เหลือทน ปรากฏว่าเหลือแต่ร่างครอบตัวอยู่แวลานั้น ต่างองค์ต่างนิ่งเงียบไปพักหนึ่งราวกับโลกธาตุได้ดับลง ในขณะเดียวกับขณะที่ท่านอาจารย์ลาสมมติคือขันธ์ก้าวเข้าสู่แดนเกษม ไม่มีสมมติความกังวลใด ๆ เข้าไปเกี่ยวข้องวุ่นวายอีก ผู้เขียนแทบหัวอกจะแตกตายไปกับท่านจริง ๆ เวลานั้นทำให้รำพึงรำพันและอัดอั้นตันใจไปเสียทุกอย่าง ไม่มีทางคิดพอขยับขยายจิตที่กำลังว้าวุ่นขุ่นเป็นตมเป็นโคลนไปกับการจากไป ของท่าน พอให้เบาบางลงบ้างจากความแสนรักแสนอาลัยอาวรณ์ที่สุดจะกล่าว ที่ท่านว่าตายทั้งเป็นเห็นจะได้แก่คนไม่เป็นท่าคนนั้นแล 

ดวงประทีปที่เคยที่เคยสว่างไสวมาประจำ ชีวิตจิตใจได้ดับวูบสิ้นสุดลง ปราศจากความอบอุ่นชุ่มเย็นเหมือนแต่ก่อนมา ราวกับว่าทุกสิ่งได้ขาดสะบั้นหั่นแหลกเป็นจุณไปเสียสิ้น ไม่มีสิ่งเป็นที่พึ่งพอเป็นที่หายใจได้เลย มันสุดมันมุดมันด้านมันตีบตันอั้นตู้ไปเสียหมดภายในใจ ราวกับโลกธาตุนี้ไม่มีอะไรเป็นสาระพอเป็นที่เกาะของจิตผู้กำลังกระหายที่ พึ่ง ได้อาศัยเกาะพอได้หายใจแม้เพียงวินาทีหนึ่งเลย ทั้งที่สัตว์โลกทั่วไตรภพอาศัยกันประจำภพกำเนิดตลอดมา แต่จิตมันอาภัพอับวาสนาเอาอย่างหนักหนา จึงเห็นโลกธาตุเป็นเหมือนยาพิษเอาเสียหมดเวลานั้น ไม่อาจเป็นที่พึงได้ ปรากฏแต่ท่านพระอาจารย์มั่นองค์เดียวเป็นชีวิตจิตใจเพื่อฝากอรรถฝากธรรมและ ฝากเป็นฝากตายทุกขณะลมหายใจเลย ......"

ตลอดชีวิตขององค์หลวงปู่ ด้วยความที่ท่านหวัง เพื่อให้เป็นประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เหตุนั้นท่านจึงไม่อยู่เป็นที่เป็นทางหลักแหล่ง เฉพาะแห่งเดียว เที่ยวไปเพื่อประโยชน์ แก่ชนในสถานที่นั้น ๆ ดังนี้
๑. ณ กาลสมัยนั้น (พ.ศ.๒๔๔๗) ท่านอาจารย์มั่น ฯ อยู่วัดเลียบมานาน จึงได้เข้าไปจำพรรษาที่วัดปทุมวนาราม (วัดสระปทุม) กรุงเทพฯ และทางเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี จนถึง พ.ศ.๒๔๕๗ ครั้นแล้วท่านจึงมาหาสหธรรมทางอุบลราชธานี จำพรรษาที่วัดบูรพาในจังหวัดนั้น เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๘ ท่านมีพรรษาได้ ๒๕ พรรษา 
๒. พ.ศ.๒๔๕๙ จำพรรษาที่ภูผากูด บ้านหนองสูง อำเภอคำชะอี จังหวัดนครพนม
๓. พ.ศ.๒๔๖๐ จำพรรษาที่บ้านดงปอ "ห้วยหลวง" อำเภอเพ็ญ จ.อุดรธานี
๔. พ.ศ.๒๔๖๑ จำพรรษาที่ถ้ำผาบิ้ง จังหวัดเลย 
๕. พ.ศ.๒๔๖๒ จำพรรษาที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
๖. พ.ศ.๒๔๖๓ จำพรรษาที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย 
๗. พ.ศ.๒๔๖๔ จำพรรษาที่บ้านห้วยทราย อำเภอมุกดาหาร จังหวัดนครพนม 
๘. พ.ศ.๒๔๖๕ จำพรรษาที่ตำบลหนองลาด อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร 
๙. พ.ศ.๒๔๖๖ จำพรรษาที่วัดมหาชัย อำเภอหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำพู 
๑๐. พ.ศ.๒๔๖๗ จำพรรษาที่บ้านค้อ อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี 
๑๑. พ.ศ.๒๔๖๘ จำพรรษาที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย (วัดอรัญวาสี ปัจจุบัน)
๑๒. พ.ศ.๒๔๖๙ จำพรรษาที่บ้านสามผง อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม 
๑๓. พ.ศ.๒๔๗๐ จำพรรษาที่บ้านหนองขอน อ.บุง (ปัจจุบัน อ.หัวตะพาน) จังหวัดอำนาจเจริญ
๑๔. พ.ศ.๒๔๗๑ จำพรรษาที่กรุงเทพฯ วัดปทุมวนาราม หรือวัดสระปทุม
๑๕. พ.ศ.๒๔๗๒ จำพรรษาที่ถ้ำเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
๑๖. พ.ศ.๒๔๗๓ จำพรรษาที่ดอยจอมแตง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
๑๗. พ.ศ.๒๔๗๔ จำพรรษาที่บ้านโป่ง อ.สันป่าตอง จ.เชียงใหม่
๑๘. พ.ศ.๒๔๗๕ จำพรรษาที่วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ออกธุดงค์ไปทาง จ.เชียงราย
๑๙. พ.ศ.๒๔๗๗ ได้กลับมาทางเขตเชียงใหม่ จำพรรษาที่ป่าเมี่ยง ดอยแม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ 
๒๐. พ.ศ.๒๔๗๙ จำพรรษาที่บ้านมูเซอ อ.เวียงป่าเป้า จ.เชียงราย
๒๑. พ.ศ.๒๔๘๐ จำพรรษาที่พระธาตุจอมแจ้ง อ.แม่สรวย จ.เชียงราย
๒๒. พ.ศ.๒๔๘๑ ท่านได้ลงมาพำนักที่วัดเจดีย์หลวง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
๒๓. พ.ศ.๒๔๘๒ จำพรรษาที่บ้านแม่กอย ( ปัจจุบัน วัดป่าอาจารย์มั่น ) อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ออกพรรษาแล้ว ท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์( จูม พนฺธุโล ) ได้เดินทางจากอุดรไปเชียงใหม่นิมนต์ท่านกลับอีสาน 
๒๔. พ.ศ.๒๔๘๓ - ๒๔๘๔ จำพรรษาที่วัดโนนนิเวศน์ อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี 
๒๕. พ.ศ.๒๔๘๕ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ( ปัจจุบัน วัดป่าวิสุทธิธรรม ) อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร 
๒๖. พ.ศ.๒๔๘๖ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามน ( ปัจจุบัน วัดป่านาคนิมิตต์ ) อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร 
๒๗. พ.ศ.๒๔๘๗ จำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ( ปัจจุบัน วัดป่าวิสุทธิธรรม ) อำเภอโคกศรีสุพรรณ จังหวัดสกลนคร 
๒๘. พ.ศ.๒๔๘๘ - ๒๔๙๒ จำพรรษาอยู่ที่บ้านหนองผือ ( ปัจจุบัน วัดป่าภูริทัตตถิราวาท ) ต.นาใน อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร
มรณภาพ ณ ที่วัดป่าสุทธาวาส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตรงกับวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๒ เวลา ๐๒.๒๓ น. สิริชนมายุรวมได้ ๘๐ ปี 
 
                   
ทันตธาตุหลวงปู่มั่น ณ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม จ.ปทุมธา
 
         อัฐิธาตุและฟันกรามหลวงปู่มั่น ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่
                                            
                                    ทันตธาตุหลวงปู่มั่น ภูริทตฺตมหาเถร
                
            
                   
                 
            
อัฐิธาตุหลวงปู่มั่น ลักษณะต่างๆ
                          

เกสาธาตุหลวงปู่มั่น
ภาพจากหนังสือ " ธรรมวิสุทธิ์ ๙๐ ปี หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน"
กราบขอบพระคุณ ท่านพระครูสุทธธรรมาภรณ์ ( พระอาจารย์พยุง ชวนปญฺโญ )
วัดป่าบ้านหนองผือ อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร

พระธาตุ
หลังองค์หลวงปู่มั่นลาขันธ์เมื่อวันที่ ๑๑ พฤษจิกายน พ.ศ. ๒๔๙๒ จึงได้มี การจัดถวายพระเพลิงศพหลวงปู่ ณ วัดป่าสุทธาวาส จ.สกลนครในวันอังคารที่ ๓๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๙๓ เมื่อถวายพระเพลิงเสร็จแล้ว อัฐิขององค์หลวงปู่ได้ถูกแบ่งแจกไปตามจังหวัดต่างๆ และประชาชนได้เถ้าอังคารไป

ต่อมาปรากฏว่าอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ที่แจกจ่ายไปยังที่ ต่างๆ ก็กลายเป็น พระธาตุไปหมด แม้แต่เส้นผมของท่านที่มีผู้เก็บไปบูชาในที่ต่างๆ ก็กลายเป็นพระธาตุ ได้เช่นเดียวกับอัฐิของท่าน
ปัญหาเรื่องอัฐิหลวงปู่มั่นกลายเป็นพระธาตุนี้ พระธรรมวิสุทธิมงคลหรือหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี ศิษย์ขององค์หลวงปู่ รูปหนึ่งได้อธิบายไว้ว่า
อัฐิพระอรหันต์ก็ดี ของสามัญชนก็ดี ต่างก็เป็นธาตุดินเช่นเดียวกันการที่อัฐิกลายเป็นพระธาตุได้นั้น ขึ้นอยู่กับใจหรือจิตเป็นสำคัญ อำนาจจิตของพระอรหันต์ท่านเป็นอริยจิตเป็นจิตที่บริสุทธิ์ ปราศจากกิเลสเครื่องโสมมต่างๆอำนาจซักฟอกธาตุขันธ์ให้เป็นธาตุบริสุทธิ์ไป ตามส่วนของตน อัฐิจึงกลายเป็นพระธาตุไปได้ แต่อัฐิหรือกระดูกสามัญชนทั่วไป แม้จะเป็นธาตุดินเช่นเดียวกัน แต่จิตสามัญชนทั่วไปเต็มไปด้วยกิเลส จิตไม่มีอำนาจและคุณภาพที่จะซักฟอกธาตุขันธ์ของตนให้บริสุทธิ์ได้
อัฐิจึงจำต้องเป็นสามัญธาตุไปตามวิสัยจิตของคนมีกิเลส จะเรียกไปตามภูมิของจิตภูมิของธาตุว่า อริยจิต อริยธาตุ และสามัญจิต สามัญธาตุก็คงไม่ผิดเพราะคุณสมบัติของจิตของธาตุระหว่างพระอรหันต์กับสามัญ ชนย่อมแตกต่างกันอย่างแน่นอน ดังนั้นอัฐิจึงจำเป็นต้องต่างกันอยู่ดี
ผู้สำเร็จอรหันต์ทุกองค์เวลานิพพาน อัฐิต้องกลายเป็นพระธาตุด้วยกันหมดทั้งสิ้นหรือเปล่านั้นข้อนี้ยังเป็น เรื่องน่าสงสัยไม่แน่ใจว่าจะเป็นไปได้อย่างนั้นทุกๆ องค์ เพราะว่าระหว่างกาลเวลาที่บรรจุอรหันต์จนถึงวันนิพพานนั้นพระอรหันต์แต่ละ องค์มีเวลาสั้นยาว 
แตกต่างกันพระอรหันต์ที่บรรลุธรรมวิเศษแล้วมีเวลาทรงขันธ์อยู่นานปีเวลา นิพพานนาน ถึงอัฐิย่อมมีทางกลายเป็นพระธาตุได้โดยไม่มีปัญหาเพราะระยะเวลาที่ทรงขันธ์ อยู่นาน
เช่นเดียวกันกับความสืบต่อแห่งชีวิต ด้วยการทำงานของระบบต่างๆ ภายในร่างกาย มีลมหายใจเป็นต้น มีการเข้าสมาบัติประจำอริยาบถเสมอ ซึ่งเป็นการซักฟอกธาตุขันธ์ให้บริสุทธิ์ไปตามส่วนของตนทุกวันทุกคืนโดยลำดับ
ครั้นถึงเวลานิพพานอัฐิจึงกลายเป็นพระธาตุไป เมื่อผสมกันเข้ากับธาตุดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งแผ่กระจายอยู่ทุกอณูบรรยากาศของโลก
ส่วนพระอรหันต์ที่บรรลุอรหัตผลแล้วมิได้ทรงขันธ์อยู่นาน เท่าที่ควร เมื่อถึงเวลานิพพานอัฐิจะกลายเป็นพระธาตุเหมือนพระอรหันต์ที่ทรงขันธ์อยู่ นานหรือไม่นั้น ยังเป็นปัญหาที่ตอบไม่สนิทใจ
พระอรหันต์ที่เป็นทันธาภิญญา คือผู้รู้ได้ช้าค่อยเป็นค่อยไป เช่น บำเพ็ญไปถึงขั้นอนาคามิผลแล้วติดอยู่นาน 
กว่าจะก้าวขึ้นอรหัตภูมิได้ ต้องพิจารณาท่องเที่ยวไปมาอยู่ในระหว่างอรหัตมรรคกับอรหัตผล จนกว่าจิตจะชำนิชำนาญและมีกำลังเต็มที่จึงผ่านไปได้ เท่านั้น
ในขณะที่กำลังพิจารณาอยู่ในขั้นอรหัตมรรคเพื่ออรหัตผล นี้เป็นอุบายวิธีซักฟอกธาตุขันธ์ไปในตัวด้วย เวลานิพพานอัฐิอาจกลายเป็นพระธาตุได้ ส่วนพระอรหันต์ที่เป็นขิปาภิญญาคือ รู้ได้เร็ว บรรลุอรหันต์ได้เร็ว และนิพพานไปเร็วพระอรหันต์ประเภทนี้ ไม่แน่ใจว่อัฐิาจะเป็นพระธาตุได้หรือไม่ประการใดเพราะจิตบริสุทธิ์ของท่าน เหล่านี้ ไม่มีเวลาทรงและซักฟอกธาตุขันธ์อยู่นานเท่าที่ควร"


ปฏิปทาท่านพระอาจารย์มั่น "ธุดงควัตรที่ท่านถือปฏิบัติเป็นอาจิณ ๔ ประการ
๑. บังสุกุลิกังคธุดงค์ ถือนุ่งห่มผ้าบังสุกุล นับตั้งแต่วันอุปสมบทมาตราบจนกระทั่งถึงวัยชรา 

จึงได้พักผ่อนให้คหบดีจีวรบ้างเพื่ออนุเคราะห์แก่ผู้ศรัทธานำมาถวาย 
๒. บิณฑบาตกังคธุดงค์ ถือภิกขาจารวัตรเที่ยวบิณฑบาตมาฉันเป็นนิตย์ แม้อาพาธไปในละแวก 
บ้านไม่ได้ก็บิณฑบาตในเขตวัด บนโรงฉันจนกระทั่งอาพาธ ลุกไม่ได้ในปัจฉิมสมัยจึงงดบิณฑบาต 
๓. เอกปัตติกังคธุดงค์ ถือฉันในบาตรใช้ภาชนะใบเดียวเป็นนิตย์ จนกระทั่งถึงสมัยอาพาธหนักจึงงด 
๔. เอกาสนิกังคธุดงค์ ถือฉันหนเดียวเป็นนิตย์ตลอดมา แม้ถึงอาพาธหนักในปัจฉิมสมัยก็มิได้เลิกละ 
ส่วนธุดงควัตรนอกนี้ได้ถือปฏิบัติเป็นครั้งคราวที่นับว่าปฏิบัติได้มาก ก็คือ อรัญญิกกังคธุดงค์ ถืออยู่ เสนาสนะป่าห่างบ้านประมาณ ๒๕ เส้น หลีกเร้นอยู่ในที่สงัดตามสมณวิสัยเมื่อถึงวัยชราจึงอยู่ใน เสนาสนะ ป่าห่างจากบ้านพอสมควร ซึ่งพอเหมาะกับกำลังที่จะภิกขาจารบิณฑบาตเป็นที่ที่ปราศจากเสียงอื้ออึง ประชาชนยำเกรงไม่รบกวน นัยว่าในสมัยที่ท่านยังแข็งแรง ได้ออกจาริกโดดเดี่ยวแสวงวิเวกไปในดงพงลึกจน สุดวิสัยที่ศิษยานุศิษย์ จะติดตามไปถึงได้ก็มี เช่นในคราวไปอยู่ทางภาคเหนือเป็นต้น ท่านไปวิเวกบนเขาสูง อันเป็นที่อยู่ของพวกมูเซอร์ ยังชาวมูเซอร์ซึ่งพูดไม่รู้เรื่องกันให้บังเกิดศรัทธาในพระศาสนาได้" 
พระอริยคุณคุณาธาร วัดเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น เรียบเรียง
"...พ่อแม่ครูอาจารย์มั่น ท่านพาดำเนินอย่างถูกต้องแม่นยำ ถือเอาธุดงควัตร ๑๓ ("...ธุดงค์ 13แต่ละข้อมีความหมายในการปราบปรามกิเลสทุกประเภทได้อย่างอัศจรรย์ยากที่คาด ให้ทั่งถึงได้ดังนี้ 1.บิณฑบาตเป็นวัตร 2.บิณฑบาตตามลำดับบ้าน 3.ไม่รับอาหารที่ตามส่งทีหลัง 4.ฉันในบาตร 5.ฉันหนเดียวในวันหนึ่งๆ 6.ถือผ้าสามผืน 7.ถือผ้าบังสกุล 8.อยู่รุกขมูลร่มไม้ 9.อยู่ป่า 10.อยู่ป่าช้า 11.อยู่กลางแจ้ง 12.อยู่ในที่เขาจัดให้ 13.ถือไม่อยู่อิริยาบถนอน...")นี้เป็นพื้นเพในการดำเนิน และการประพฤติปฏิบัติจิตใจของท่านก็เป็นไปโดยสม่ำเสมอ ไม่นอกลู่นอกทางทำให้ผู้อื่นเสียหาย และริจะทำเพื่อความเด่นความดังอะไรออกนอกลู่นอกทางนั้นไม่มี เป็นแนวทางที่ราบรื่นดีงามมาก นี่ละเป็นที่นอนใจ เป็นที่ตายใจยึดถือไว้ได้โดยไม่ต้องสงสัยก็คือปฏิปทาเครื่องดำเนินของท่าน 
นี่ครูบาอาจารย์ที่เป็นลูกศิษย์ลูกหาของท่านก็มีจำนวนมากพากันดำเนินมายึด ถือหลักนั้นแหละมาปฏิบัตได้แพร่หลายหรือกระจายออกไปแก่บรรดาลูกศิษย์ทั้ง หลายเป็นแขนงๆ หรือแผลงๆ อะไรออกไปให้เป็นที่สะดุดตา ไม่แน่ใจอย่างนี้ไม่มี ท่านดำเนินอะไรเป็นที่เหมาะสมทั้งนั้น คือมีแบบมีฉบับเป็นเครื่องยืนยันไม่ผิดเพี้ยนไปเลย 
นี่เพราะเหตุไร เพราะเบื่องต้นท่านก็ตะเกียกตะกายก็จริง แต่ตะเกียกตะกายตามหลักธรรมหลักวินัย ไม่ได้นอกเหนือไปจากหลักธรรมหลักวินัย หลักวินัยคือกฏของพระระเบียบของพระ ท่านตรงเป๋งเลย และหลักธรรมก็ยึดธุดงค์๑๓ ข้อนี้เป็นทางดำเนิน ไม่ได้ออกนอกลู่นอกทางนี้ไปอย่างทางอื่นบ้างเลย นี่จึงเป็นที่น่าอนุโมทนาเป็นอย่างยิ่งมาตั้งแต่ขั้นเริ่มแรกของท่าน 
ต่อจากนั้นท่านก็ปรากฏเห็นผลขึ้นมาโดยอันดับอำดา ดังเคยเขียนไว้แล้วในประวัติของท่านจนกระทั้งเป็นผู้ทรงมรรคทรงผลโดยสมบูรณ์ ในหัวใจท่าน แล้วก็ประกาศสั่งสอนธรรมแก่บรรดาศิษยทั้งหลายพร้อมทั้งปฏิปทาเครื่องดำเนิน ด้วยความองอาจกล้าหาญ ไม่มีคำว่าสะทกสะท้านแม้นิดหนึ่งเลย นี่เพราะความแน่ใจในใจของท่านเอง ทั้งฝ่ายเหตุทั้งฝ่ายผล ท่านเป็นที่แน่ใจทั้งสองแล้ว 
พวกบรรดาลูกศิษย์ลูกหาทั้งหลายที่เข้าไปศึกษาอบรมกับท่าน จึงได้หลักได้เกณฑ์จากความถูกต้องแม่นยำที่ท่านพาดำเนินมา มาเป็นเครื่องดำเนอนของตน แล้วถ่ายทอดไปโดยลำดับลำดา ไม่มีประมาณเฉพาะอย่างยิ่งภิกษุบริษัท มีกว้างขวางอยู่มากสำหรับลูกศิษย์ของพ่อแม่ครูอาจารย์มั่นแตกกระจายออกไปการ ที่ได้ปฏิปทาเครื่องดำเนินจากท่านผู้รู้ผู้ฉลาดพาดำเนินมาแล้วเช่นนี้ เป็นสิ่งที่หาได้ยากมาก นี่ละเป็นที่ ให้ตายใจนอนใจ อุ่นใจได้ ผิดกับเราเรียนมาโดยลำพัง และปฏิบัติโดยลำพังเป็นไหนๆ 
ยกตัวอย่างไม่ต้องเอาที่อื่นไกลที่ไหนเลย ผมเองนี่แหละเรียน จะว่าอวดหรือไม่อวดก็ตามก็เรียนถึงมหา แต่เวลาจะหาหลักหาเกณฑ์มายึดเป็นเครื่องดำเนินด้วยความอุ่นแน่ใจตายใจสำหรับ ตัวเอง ไม่มีจะว่ายังไงนั่น มันเป็นอย่างนั้น จิตเสาะแสวงหาแต่ครูอาจารย์อยู่ตลอดเวลาเฉพาะอย่างยิ่งพ่อแม่ครูอาจารย์ มั่น..." 
พระธรรมวิสุทธิมงคล(หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน) วัดป่าบ้านตาด จ.อุดรธานี 
( จากหนังสือ"หยดน้ำบนใบบัว")
"...ที่ผมได้ความรู้ความฉลาด จนได้มาแบ่งปันพวกท่านทั้งหลายนั้น ก็เพราะผมได้ ไปกราบครูบาอาจารย์มั่น...ไปพบท่าน แล้วก็เห็นสภาพวัดวาอารามของท่าน ถึงจะไม่สวยงาม แต่ก็ สะอาดมาก พระเณรตั้งห้าสิบหกสิบ เงียบ! ขนาดจะถากแก่นขนุน (แก่นขนุนใช้ต้มเคี่ยว สำหรับย้อมและซักจีวร) ก็ยังแบกเอาไปฟันอยู่โน้น.. ไกล ๆ โน้น เพราะกลัวว่าจะ ก่อกวนความสงบของหมู่เพื่อน... พอตักน้ำทำกิจอะไรเสร็จ ก็เข้าทางจงกรม ของใครของมัน ไม่ได้ยินเสียง อะไร นอกจากเสียงเท้าที่เดินเท่านั้นแหละ 
บางวันประมาณหนึ่งทุ่ม เราก็เข้าไปกราบท่านเพื่อฟังธรรม ได้เวลาพอ สมควรประมาณสี่ทุ่มหรือห้าทุ่มก้กลับกุฏิ เอาธรรมะ ที่ได้ฟังไปวิจัย... ไปพิจารณา 
เมื่อได้ฟังเทศน์ท่าน มันอิ่ม เดินจงกรมทำสมาธินี่... มันไม่เหน็ดไม่เหนื่อย มันมีกำลังมาก ออกจากที่ประชุมกันแล้วก็เงียบ! บางครั้งอยู่ใกล้ ๆ กัน เพื่อนเขาเดิน จงกรมอยู่ตลอดคืนตลอดวัน จนได้ย่องไปดูว่าใครท่านผู้นั้นเป็นใคร ทำไมถึงเดิน ไม่หยุดไม่พัก นั่น... เพราะจิตใจมันมีกำลัง..." 
พระโพธิญาณเถร ( หลวงปู่ชา สุภัทโธ ) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี
จากอัตตโนประวัติหลวงปู่ชา "ใต้ร่มโพธิญาณ"

****************************************** 



กุฏิหลวงปู่มั่น
ประวัติความเป็นมาของวัด
ภายหลังจากอยู่จำพรรษาในภาคเหนือเป็นเวลา ๑๒ ปีแล้ว หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระได้เดินทางมาจำพรรษาที่วัดป่าโนนนิเวศน์ จังหวัดอุดรธานี ตามคำอาราธนาของท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ ( จูม พนฺธุโล ) เป็นเวลา ๓ พรรษา แล้วจึงมาพำนักที่เสนาสนะป่าบ้านโคก ตรงที่เป็นบริเวณวัดร้างชายป่า ใกล้บ้านโคกในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ในปัจจุบันคือที่ว่าการอำเภอโคกศรีสุพรรณ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญได้ทราบข่าวการจำพรรษาของหลวงปู่มั่นจึงเดินทางจากจันทบุรีเข้ามานมัสการหลวงปู่มั่น ซึ่งบ้านโคกแห่งนี้คือบ้านเดิมของพระอาจารย์กงมาเอง พระอาจารย์กงมาได้พยายามแนะนำชาวบ้านให้พากันเลื่อมใสในธรรม จนบรรดาญาติมิตรเดิมของท่านก็ได้พากันเลื่อมใสปฏิบัติธรรมกันมากขึ้นเป็นลำดับ เท่ากับท่านได้มาโปรดญาติโยมของท่านอีกด้วย
องค์ท่านได้จำพรรษาอยู่ที่เสนาสนะป่าบ้านโคกกับพระอาจารย์กงมา ๑ พรรษา และพระ เณรรูปอื่นๆ ได้แก่ พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน( หลวงตาได้มอบตัวเป็นศิษย์และอยู่ฝึกหัดกัมมัฎฐานกับหลวงปู่มั่นเป็นครั้งแรกในปีนี้ ),พระอาจารย์เจี๊ยะ จุนฺโท ( ปัจจุบันคือ หลวงปู่เจี๊ยะ วัดป่าภูริทัตตปฏิปทา ปทุมธานี มรณภาพแล้ว ), พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร ( ปัจจุบันคือพระเทพเจติยาจารย์ (หลวงปู่วิริยังค์) วัดธรรมมงคล กทม.), พระพระอาจารย์สิงห์ จากบ้านหนองหลวง, พระอาจารย์พา, พระอาจารย์ทองปาน, พระอาจารย์สวัสดิ์, สามเณรอุ่น ( ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดร้างแห่งนี้ โดยมีหลวงปู่มั่นเป็นพระอุปัชฌาย์ โดยเป็นสามเณรรูปสุดท้ายที่หลวงปู่มั่นบรรพชาให้ ปัจจุบันคือหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม มรณภาพแล้ว), สามเณรอี๊ด
ในระหว่างนี้พระอาจารย์กงมาได้พยายามวางรากฐานให้มีวัดป่าในแถบบ้านโคกนี้ ได้สร้างวัดใหม่อยู่ห่างจากที่เก่าประมาณ ๑ กิโลเมตร เนื่องจากที่เก่าอยู่ใกล้ทางสัญจรไปมาของผู้คน จึงไม่ค่อยสงบ เมื่อมาอยู่ที่ใหม่นี้ชาวบ้านจึงถวายที่ตั้งวัด ได้สร้างศาลาและกุฏิถวายหลวงปู่มั่น ตั้งชื่อสำนักสงฆ์นี้ว่า "วัดป่าวิสุทธิธรรม" เมื่อปลายปี พ.ศ.๒๔๘๕ เพื่อเป็นอนุสรณ์ที่หลวงปู่มั่นได้มาจำพรรษา ณ บ้านโคก อันเป็นบ้านเกิดของพระอาจารย์กงมา ส่วนหลวงปู่มั่นได้ไปจำพรรษาที่เสนาสนะป่าบ้านนามนซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 2 กิโลเมตรในปี พ.ศ. ๒๔๘๖ และต่อมาในปี พ.ศ. ๒๔๘๗ ท่านจึงได้มาจำพรรษาที่วัดป่าวิสุทธิธรรมตามที่พระอาจารย์กงมาได้อาราธนานิมนต์ ในพรรษานี้มีพระเณรจำพรรษาร่วมกับท่าน ได้แก่ พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ, พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน, พระอาจารย์วิริยังค์ สิรินฺธโร, พระอาจารย์หลอด ปโมทิโต( ปัจจุบันคือ พระครูปราโมทย์ธรรมธาดา (หลวงปู่หลอด ปโมทิโต ) วัดสิริกมลาวาส กทม. ), พระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโม, พระอาจารย์คำดี, พระอาจารย์มนู, พระอาจารย์บุญ, เณรดี, เณรได

ศาลาโรงธรรม ( ก่อนบูรณะ)**

ศาลาโรงธรรม ( หลังบูรณะ พ.ศ. ๒๕๔๗ )
ณ วัดป่าวิสุทธิธรรมแห่งนี้ หลวงปู่มั่นท่านได้ใช้ศาลาโรงธรรมที่พระอาจารย์กงมาสร้างขึ้นเป็นที่แสดงธรรมเทศนาอบรมศิษยานุศิษย์และพุทธบริษัท รวมทั้งเป็นที่ประชุมสงฆ์เพื่อวางระเบียบแบบแผนของคณะกัมมัฎฐานให้ถูกต้อง
กุฏิหลวงปู่มั่น สภาพในปัจจุบันภายหลังจากบูรณะเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖

ศาลาโรงธรรมหลวงปู่มั่น สร้างโดยพระอาจารย์กงมา

ศาลาโรงธรรมหลังปัจจุบัน
ภายหลังเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๙ พระอาจารย์กงมาจึงได้สร้างวัดป่าอีกแห่งหนึ่งคือ วัดดอยธรรมเจดีย์ และมอบวัดป่าวิสุทธิธรรมให้กับพระอาจารย์อุ่น กลฺยาณธมฺโมซึ่งมีศักดิ์หลานชายของท่านดูแลวัดต่อมาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ ๒ สืบต่อจากพระอาจารย์กงมา จนกระทั่งมรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐

ใต้ต้นค้อมีแท่นอนุสรณ์หลวงปู่อุ่น


หลวงปู่มั่น ในอริยาบถยืน

ใต้ต้นค้อมีแท่นอนุสรณ์หลวงปู่อุ่นและบริเวณ

เจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม

อัฐิธาตุหลวงปู่อุ่นในเจดีย์พิพิธภัณฑ์

บริขาร

พระพุทธชินราชจำลองภายในเจดีย์

รูปหล่อหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม

หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่น
ประดิษฐาน ณ วัดป่าวิสุทธิธรรม
สภาพในปัจจุบันในปัจจุบันทางวัดยังได้อนุรักษ์กุฏิและศาลาหลวงปู่มั่นที่หลวงปู่กงมาสร้างขึ้น โดยกุฏิได้มีการบูรณะครั้งใหญ่เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๕ บนกุฏิมีรูปหลวงปู่มั่นประดิษฐาน ส่วนศาลาได้การทำการบูรณะโดยแปลงเป็นอุโบสถแต่ยังได้รักษาสภาพเดิมไว้ให้มากที่สุดบนภายในประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลองและ หุ่นขี้ผึ้งหลวงปู่มั่น บริเวณด้านหน้าศาลายังมีเจดีย์พิพิธภัณฑ์หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม อดีตเจ้าอาวาส ภายในเจดีย์ประดิษฐานพระพุทธชินราชจำลอง รูปหล่อขององค์หลวงปู่ บริขารบางส่วนและอัฐิธาตุขององค์หลวงปู่ที่มีลักษณะเป็นสีขาวมันคล้ายงาช้าง
พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ
เจ้าอาวาสรูปแรก
หลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม
เจ้าอาวาสรูปที่ ๒
พระครูกิตติสารประสาธน์
( พระอาจารย์ประสงค์ กิตติสาโร )
เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน
นอกจากนี้บริเวณด้านขวาของศาลายังมีต้นค้อต้นใหญ่ยืนต้นอยู่ ใต้ร่มไม้มีแท่นก่ออิฐถือปูนที่นั่งภาวนาของหลวงปู่อุ่น กลฺยาณธมฺโม ท่านสั่งให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นอนุสรณ์แสดงสถานที่ที่ท่านเคยนั่งสมาธิภาวนาจนได้รับผลเป็นครั้งแรกที่นี่ ปัจจุบันมีพระครูกิตติสารประสาธน์( พระอาจารย์ประสงค์ กิตติสาโร )เป็นเจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน





Amazing Counters