แต่จะประเมินจาก ดัชนีมวลกาย ซึ่งสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย
มีวิธีการประเมินง่ายๆแต่ได้ผลดีได้แก่
- ดัชนีมวลกาย BMI (body mass index)
- วัดเส้นรอบเอว Waist circumference
การวัดปริมาณไขมันในร่างกายเป็นเรื่องที่ต้องใช้เครื่องมือในการวัด
จึงใช้ดัชนีมวลกายมาวัด ค่าที่ได้มีความแม่นยำพอสมควร
และสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในร่างกาย วิธีวัดก็สะดวก
สูตรการคำนวณดัชนีมวลกาย | ||
ดัชนีมวลกาย BMI | = | น้ำหนัก (กก) ส่วนสูง (ม)² |
MI สามารถวัดได้ง่ายโดยวัดส่วนสูงและน้ำหนักและคำนวณตามสูตร
ข้อระวัง BMI ใช้ประเมินปริมาณไขมันในผู้ที่มีกล้ามมากๆไม่ได้
ตารางแสดงความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีมวลกาย ระดับความอ้วน และภาวะเสี่ยง
| ||||
ภาวะเสี่ยงต่อโรค | ||||
น้ำหนัก
| BMI กก/ตารางเมตร | Obesity class ระดับความอ้วน | เส้นรอบเอว | |
ชาย < 40 นิ้ว หญิง < 35 นิ้ว | ชาย > 40 นิ้ว หญิง > 35 นิ้ว | |||
น้ำหนักน้อย | <18.5 | --- | --- | |
น้ำหนักปกติ | 18.5-24.9 | --- | --- | |
น้ำหนักเกิน | 25-29.9 | เพิ่ม | สูง | |
โรคอ้วน | 30-34.9 | 1 | สูง | สูงมาก |
35-39.9 | 2 | สูงมาก | สูงมาก | |
อ้วนมาก | >40 | 3 | สูงมากๆๆ | สูงมากๆๆ |
- ภาวะเสี่ยงต่อโรค หมายถึงภาวะเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวานชนิดที่สอง ความดันโลหิตสูง
- ผู้ป่วยที่มีเส้นรอบเอวมากแม้ว่า BMI จะปกติก็มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเช่นกัน
40 นิ้วในชาย 35 นิ้วในหญิงจะต้องเริ่มรักษาอย่างจริงจัง
วัดเส้นรอบเอว Waist circumference
ค่ารอบเอวที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรค |
|
- การวัดเส้นรอบเอวจะมีความสัมพันธ์กับปริมาณไขมันในอวัยวะภายในช่องท้อง
มากกว่าไขมันที่อยู่ตามแขนหรือขา ผู้ที่มีดัชนีมวลกายเกิน แต่เส้นรอบเอวไม่เกิน
กลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อโรคไม่มาก
- วิธีการวัดเส้นรอบเอว วัดรอบเอวระดับกึ่งกลางกระดูกสะโพกส่วนบนสุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น